ปกติโลกของเรานั้น ถูกขับเคลื่อนไปเรื่อยๆ จากการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี โดยเฉพาะ เรื่องของออนไลน์ เมื่อมีโรคระบาด โควิด-19 เกิดขึ้น เทคโนโลยีออนไลน์ จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใช้ เพื่อการทำงาน และความบันเทิงส่วนตัว มันจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ยิ่งมีโรคระบาด จึงกลายเป็นตัวเร่ง ให้เราใช้เทคโนโลยีออนไลน์ ในชีวิตประจำวันมากกว่าเดิม จากหัวข้อหลัก ดังต่อไปนี้
Social Media คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในช่วง โควิด-19 ระบาด
ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะทำอะไร สิ่งแรกที่เราตื่นนอนมา คือ เปิดโทรศัพท์มือถือ อัพเดทข่าวสาร นอกจากนี้ ยังมีแอปพลิเคชั่นมากมาย ที่ออกมาให้เราใช้กัน เช่น ธนาคาร ชอปปิ้ง ดูหนัง ซื้ออาหาร ฯลฯ ซึ่งทำกันปกติ เมื่อโรคโควิด-19 เข้ามา จึงทำให้อัตราการเติบโตทั่วโลก ใช้อินเตอร์เน็ตและโซเชียลเพิ่มขึ้น ทั้งแง่ของจำนวนและสถิติ โดยช่วงเวลาที่มีการใช้มากคือ กิจกรรมทาง Digital ในพื้นที่ที่มีการล็อกดาวน์ มีการใช้วิดีโอคอลล์ อีคอมเมิร์ซ สิ่งบันเทิงออนไลน์อย่าง วิดีโอเกมและอีสปอร์ต ที่มีคนติดตาม ก็ได้รับความนิยมสูงไม่แพ้กัน
Learn From Home ถึงเวลาเรียนที่บ้าน

ความจริงเรื่องการเรียนออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะมีการเรียนการสอน ผ่านออนไลน์แบบปกติ ตามคอร์สสั้นๆ อยู่แล้ว แต่การพัฒนาเพื่อเข้าถึงตัวของนักเรียน แทนการเข้าไปเรียนในโรงเรียนจริงๆ ในประเทศไทย ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ยังต้องลองผิดลองถูก ซึ่งยังมีปัญหาหลายอย่าง ตั้งแต่ผู้สอน ความเสถียรของระบบ นักเรียนมาจากครอบครัวรายได้น้อย ทำให้ไม่มีอุปกรณ์เรียน รวมไปถึงความเอาใจใส่ของผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียนเอง ในอนาคต ถ้าเราปรับตัวได้ ก็ไม่แน่ว่า โรงเรียนยังมีความจำเป็นแค่ไหน และหากโรค โควิด-19 ยังระบาดอยู่หลังจากเปิดเทอม บางทีโรงเรียนก็อาจเป็นเพียงสนามสอบอย่างเดียวก็ได้
Work From Home งานประจำทำที่บ้าน

แนวคิดเรื่องนี้ มีมานาน แต่บางทียังไม่ได้นำมาใช้จริง เพราะการทำงานที่ออฟฟิศ ได้เห็นหน้าพูดคุยกันจริงๆ น่าจะสะดวกกว่า แต่ด้วยเรื่องของการเว้นระยะห่างทางสังคม ลดการติดและแพร่เชื้อโรค จากการเดินทาง และการใกล้ชิดกันในบริษัท ก็ทำให้ Work From Home ถูกนำมาใช้อย่างเร่งด่วน โดยอาศัยเทคโนโลยีออนไลน์ ตั้งแต่ประชุม พูดคุย ทำงาน จนกระทั่ง ส่งงานทุกอย่างอยู่ที่บ้านหมด แน่นอนว่า มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องแก้ไขกันไป แต่ด้วยเหตุการณ์โรคระบาดนี้ ไม่ใช่แค่เพียงทางเลือก แต่มันคือทางรอดของมนุษย์ ที่จะต้องปรับตัว เพื่อใช้ชีวิตต่อไป นวัตกรรมการแพทย์ต้องนำมาใช้
วงการแพทย์เอง ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากได้สร้างชุดตรวจ โควิด-19 จากน้ำลาย คิดค้นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สามารถรู้ผลการตรวจภายใน 1 ชั่วโมง ตามมาด้วย “ระบบติดตามผู้ติดเชื้อเพื่อใช้ในการควบคุมโรค” ด้วยโปรแกรม DDCcareme ทำให้สามารถทราบได้ว่า ผู้ป่วยอยู่ที่ไหน ทำอะไร เพื่อช่วยเหลือป้องกันอย่างทันท่วงที มีระบบ “TeleHealth” หรือบริการทางการแพทย์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ให้คำปรึกษาทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยผ่านโทรศัพท์ หรือการสื่อสารผ่านระบบ Video Conference อีกด้วย